แนะนำการเลี้ยงหนูแฮมสเตอร์

เลี้ยงหนูแฮมสเตอร์

จากภาพยนตร์หรือการ์ตูนที่มักแสดงให้เห็นถึงสายใยและความสัมพันธ์ระหว่างคนกับสัตว์เลี้ยงนั้น…มีมากมายให้ทุกๆ ท่านไปรับชมหรือเห็นภาพความน่ารักของสัตว์ชนิดต่างๆ ซึ่งหนึ่งสัตว์เลี้ยงยอดนิยมที่ไม่ต้องมีพื้นที่มากมายก็สามารถเลี้ยงได้ ก็คงจะหนีไม่พ้น “หนูแฮมสเตอร์” ใช่มั้ยหล่ะครับ แต่การเลี้ยงดูพวกเค้าก็ไม่ใช่จะง่ายอย่างที่คิดเลย วันนี้เราจึงอยากพาท่านผู้อ่านที่สนใจไปพบกับการ “แนะนำการเลี้ยงหนูแฮมสเตอร์” กันสักหน่อยครับ จะเป็นอย่างไรบ้างนั้น…เราไปลองดูกันหน่อยดีกว่าครับ

จากภาพยนตร์หรือการ์ตูนที่มักแสดงให้เห็นถึงสายใยและความสัมพันธ์ระหว่างคนกับสัตว์เลี้ยงนั้น…มีมากมายให้ทุกๆ ท่านไปรับชมหรือเห็นภาพความน่ารักของสัตว์ชนิดต่างๆ ซึ่งหนึ่งสัตว์เลี้ยงยอดนิยมที่ไม่ต้องมีพื้นที่มากมายก็สามารถเลี้ยงได้ ก็คงจะหนีไม่พ้น “หนูแฮมสเตอร์” ใช่มั้ยหล่ะครับ แต่การเลี้ยงดูพวกเค้าก็ไม่ใช่จะง่ายอย่างที่คิดเลย วันนี้เราจึงอยากพาท่านผู้อ่านที่สนใจไปพบกับการ “แนะนำการเลี้ยงหนูแฮมสเตอร์” กันสักหน่อยครับ จะเป็นอย่างไรบ้างนั้น…เราไปลองดูกันหน่อยดีกว่าครับ

ทำความรู้จักกับ หนูแฮมสเตอร์ เบื้องต้น

แฮมสเตอร์ (Hamster) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กจำพวกหนึ่ง ในอันดับสัตว์ฟันแทะ (Rodentia) จัดอยู่ในวงศ์ย่อย Cricetinae ในวงศ์ Cricetidae มีหลากหลายสกุล หลายชนิด ลักษณะโดยทั่วไปของแฮมสเตอร์ ขนาดตัวจะมีขนาดเล็ก อ้วนป้อม และมีหางสั้นกว่าลำตัว และมีขนาดเล็ก อย่างเห็นได้ชัด สีขนมีหลายสี เช่น ดำ, เทา, ขาว, น้ำตาล, เหลืองเข้ม, เหลือง ซึ่งจะขึ้นอยู่กับชนิดที่แตกต่างกันออกไป ส่วนสีขนด้านใต้ท้องจะเป็นสีขาว มีตาดวงกลมโตสีดำหรือแดง และจมูกที่ไวต่อการได้กลิ่นหอม

3 สายพันธุ์หนูแฮมสเตอร์ที่น่าเลี้ยง

  • Campbell’s Dwarf Russian Hamster สายพันธุ์นี้เรียกสั้นๆว่า “แคมเบล”หนูแฮมสเตอร์สายพันธุ์นี้จะมีขนาดลำตัวที่ใหญ่กว่าวินเทอร์ ไวท์ เล็กน้อย มีใบหน้าสั้นทู่ ตัวอ้วนเป็นทรงกลม ขนนุ่ม มีหางที่สั้นกุด ขนาดโตเต็มวัยอยู่ที่ประมาณ 10-15 เซนติเมตร มีสีขนที่เหมือนกับวินเทอร์ ไวท์ สีนอมอลคือขนสีน้ำตาลและมีเส้นคาดหลังเกือบดำ แต่ในปัจจุบันน้องถูกผสมออกมาจนมีหลายสี ถึงแม้หน้าตาจะน่ารักน่าเอ็นดูแต่นิสัยส่วนใหญ่ค่อนข้างดุ ชอบกัดชอบแทะและเอาแต่ใจ หวงถิ่น รักสันโดษ
  • Chinese Dwarf Hamster สายพันธุ์นี้จะมีลักษณะลำตัวมีความผอมเพรียว หน้ายาวเรียวกว่าเพื่อน บริเวณมือเท้าไม่ค่อยมีขนขึ้น มีหางที่ยาวเล็กเซนติเมตร โตเต็มวัยจะมีขนาดประมาณ 7-9 เซนติเมตร นิสัยของสายพันธุ์นี้จะขี้ตกใจ แต่เมื่อโตขึ้นจะเป็นหนูที่รักความสงบ
  • Dwarf Roborovski Hamster โรโบตัวจี๊ด เจ้าหนูตัวแคระ ตัวเล็กจิ๋วที่สุด เร็วสุด จับทีแทบไม่ทัน เพราะวิ่งเร็วมากๆ มีขนาดตัวที่เล็ก หางสั้นกุด หน้าสั้น สีขนเป็นสีน้ำตาลอมเทาไม่มีเส้นคาดหลัง โตเต็มวัยจะมีขนาดเพียงแค่ 4-5 เซนติเมตรเท่านั้น เป็นหนูแฮมสเตอร์สายพันธ์ุมีอายุยืนมากที่สุด มีนิสัยรักพวกพ้อง ชอบอยู่กัน เป็นกลุ่ม ควรเลี้ยงเป็นเพศเดียวกัน ขี้ตกใจ หวาดกลัว เหมาะกับที่ไม่ค่อยมีเวลาเล่นกับน้องหรือแค่อยากมองความน่ารักของน้องเพลินๆ

แนวทางการเลี้ยงหนูแฮมสเตอร์

  • เลือกหนูแฮมสเตอร์ที่แข็งแรง หนูแฮมสเตอร์ที่สุขภาพดี ใบหูจะต้องสะอาด, ก้นสะอาดและแห้ง, พุงเล็กๆ กลมๆ, ขนไม่แหว่งหรือจับตัวเป็นก้อน (ยกเว้นต่อมกลิ่นที่สะโพก ที่หลายๆ คนเข้าใจว่าเป็นแผลหรือตกสะเก็ด), ดวงตาใส และสุขภาพฟันแข็งแรง ไม่ยาวเกินไปหรือโค้งงอขึ้นมา
  • เรื่องของการเลือกกรงและของภายในของเจ้าหนูแฮมสเตอร์ กรงเลี้ยงหนูแฮมสเตอร์จะต้องเป็นกรงแบบซี่ลวด ตู้กระจกแบบตู้ปลา หรือตู้อะคริลิคก็ได้ จักรออกกำลังกายจะต้องเลือกขนาดให้เหมาะกับสายพันธุ์ ส่วนถ้วยอาหารแนะนำเป็นถ้วยเซรามิกขนาดเล็ก ติดตั้งขวดน้ำดื่มพร้อมน้ำสะอาด ควรเปลี่ยน 3 – 4 วันครั้ง กระบะอาบน้ำหนูแฮมสเตอร์สำหรับใส่ทรายเพื่อให้หนูแฮมสเตอร์คลุกตัวทำความสะอาด ทรายอาบน้ำจะเป็นทรายละเอียด ไม่ควรใช้ทรายสี เพราะจะทำให้เข้าตาและเกิดอาการแพ้ได้   ที่รองกรง: มีทั้งแบบก้านปอ ทิชชู และทรายอนามัย ถ้วยดินเผา: สำหรับเมืองไทยที่อากาศร้อน ควรมีถ้วยดินเผาจะช่วยให้หนูแฮมสเตอร์นอนกลางวันแบบไม่ร้อนเกินไป ไม้ลับฟัน หรือลูกสน: เพื่อให้หนูแฮมสเตอร์ได้ลับฟันให้สั้นและคมตามธรรมชาติ และตัวบ้านหนูแฮมสเตอร์ที่มีเอาไว้เป็นที่หลบ และเอาไว้นอน
  • เรื่องอาหารหนูแฮมสเตอร์ อาหารสัตว์เล็กสำเร็จรูป หลักๆ จะเป็นธัญพืชหลากหลายชนิด แนะนำซื้อ 2 ยี่ห้อมาผสมกัน เพื่อให้หนูแฮมสเตอร์ได้รับสารอาหารครบถ้วน

และนี้ก็คือข้อมูลและเรื่องราวเกี่ยวกับ “แนะนำการเลี้ยงหนูแฮมสเตอร์” ที่พวกเราได้หามาฝากท่านผู้อ่านทุกๆ ท่านกันครับ คิดว่าน่าจะเป็นความรู้พื้นฐานที่ดีที่เหมาะสำหรับท่านที่กำลังคิดจะเลี้ยงพวกเค้ากันนะครับ

Views:
54
Article Categories:
Lifestyle

Comments are closed.