การดูแลนกแก้วที่ทุกๆ ท่านควรให้ความสำคัญ

การดูแลนกแก้ว

ทุกๆ ท่านเคยดูการ์ตูนอนิเมชั่นอย่าง “How to Train your Dragon” กันมาบ้างมั้ยครับ ผมเชื่อว่าท่านที่เคยผ่านการรับชมหนังอนิเมชั่นเรื่องนี้มาแล้ว ก็คงจะอดใจไม่ได้ที่จะหาแมวหรือนกมาเลี้ยงกันสักตัวอย่างแน่นอน ซึ่งในวันนี้ผมจะพาทุกๆ ท่านไปทำความรู้จักกับสัตว์เลี้ยงอย่าง “นกแก้ว” พร้อมกับ “การดูแลนกแก้วที่ทุกๆ ท่านควรให้ความสำคัญ” กันครับ จะเป็นอย่างไรกันบ้างนั้น…เราไปชมกันดีกว่าครับ

ทุกๆ ท่านเคยดูการ์ตูนอนิเมชั่นอย่าง “How to Train your Dragon” กันมาบ้างมั้ยครับ ผมเชื่อว่าท่านที่เคยผ่านการรับชมหนังอนิเมชั่นเรื่องนี้มาแล้ว ก็คงจะอดใจไม่ได้ที่จะหาแมวหรือนกมาเลี้ยงกันสักตัวอย่างแน่นอน ซึ่งในวันนี้ผมจะพาทุกๆ ท่านไปทำความรู้จักกับสัตว์เลี้ยงอย่าง “นกแก้ว” พร้อมกับ “การดูแลนกแก้วที่ทุกๆ ท่านควรให้ความสำคัญ” กันครับ จะเป็นอย่างไรกันบ้างนั้น…เราไปชมกันดีกว่าครับ

ทำความรู้จักกับ นกแก้ว

นกแก้วมีชื่อวิทยาศาสตร์: คือ Psittacus torquata เป็นนกปากงุ้ม จัดอยู่ในวงศ์ Psittacidae ตัวมีสีเขียว ปากแดง และเป็นนกที่มักอยู่รวมกันเป็นฝูง นกแก้วที่พบในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น นกแก้วโม่ง (Psittacula eupatria) แก้วหัวแพร (P.roseata) และนกแก้วมาคอว์

ลักษณะของนกเเก้ว ที่เด่นอย่างหนึ่งที่เป็นเอกลักษณ์ ของนกในตระกูลนกแก้ว ที่มีความแตกต่างไปจากนกตระกูลอื่นคือ ตรงจะงอยปาก (ขากรรไกร) ตอนบนของนกแก้วสามารถเคลื่อนไหวได้ โดยที่ไม่รวมกับหน้าผาก และนกแก้วเป็นนกที่มีปากคมแข็ง จะงอยปากจะงุ้มเข้า โคนปากใหญ่ปลายแหลมน่ากลัว ส่วนเท้าของนกแก้วมีนิ้วข้างหลังสองนิ้ว และข้างหน้าสองนิ้ว ทุกนิ้วมีเล็บที่แหลมคม สามารถใช้เท้าจับกิ่งไม้ได้เหนียวแน่น ปีนป่ายคันไม้ได้เก่งได้อย่างสบาย และในบางครั้ง นกแก้วยังสามารถจับฉีกอาหารได้เอง ปากของมันส่วนใหญ่เป็นสีแดง ขนเป็นสีเขียว และที่สำคัญสามารถนำมาฝึกสอนให้พูดภาษาของมนุษย์ได้แทบทุกชนิด

4 สายพันธุ์ นกแก้วที่นิยมเลี้ยง

  1. Cockatiel นกค๊อกคาเทลมีถิ่นกำเนิดที่ออสเตรเลีย Cockatiels เป็นสมาชิกที่เล็กที่สุดในตระกูล Cockatoo พวกมันเป็นสัตว์เลี้ยงที่อ่อนหวาน ดูแลง่ายและฉลาด ยังเป็นที่รู้จักกันจากขนกระจุกบนศรีษะ เรียกว่า “หงอน” นกค๊อกคาเทลจะยกยอดและลดระดับหงอนขึ้นอยู่ตามอารมณ์ พวกเขาจะไม่รู้จักความสามารถในการพูด แต่สามารถเรียนรู้ที่จะผิวปากตอบกลับเมื่อถูกผิวปาก เหมาะสำหรับการเลี้ยงบริเวณด้านในบ้านและนอกบ้าน อาจจะไม่เหมาะสำหรับอพาร์ตเมนต์ เนื่องจากบางครั้งนกค๊อกคาเทลมีเสียงกรีดร้องที่ดังต่อเนื่อง
  2. African Grey นกแอฟริกันเกรย์ นกแก้วแอฟริกันเกรย์มีอยู่ 2 ชนิดคือ Congo African Grey Parrot และ Timneh African Grey Parrot เป็นนกแก้วที่ฉลาดและช่างพูดมากที่สุด ไม่เพียงแต่สามารถเรียนรู้คำศัพท์จำนวนมาก พวกมันยังสามารถเรียนรู้วิธีพูดด้วยเสียงต่างๆ
  3. Parakeets หรือ นกหงษ์หยกเป็นหนึ่งในสัตว์เลี้ยงที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก มีถิ่นกำเนิดในออสเตรเลีย โดยยังคงอาศัยอยู่ตามทุ่งหญ้าเป็นฝูงใหญ่เป็นลูกคลื่น หากได้รับการฝึกฝนอย่างเหมาะสม พวกมันจะสามารถเลียนแบบคำพูดของมนุษย์ได้
  4. Macaw นกมาคอว์ได้ชื่อว่าเป็นยักษ์ใหญ่แห่งโลกนกแก้ว โดยมีความยาวหัวถึงหางเกือบ 40 นิ้ว มีถิ่นกำเนิดอเมริกากลางและอเมริกาใต้ มาคอว์ต้องการกรงที่สูงพอที่จะป้องกันไม่ให้ขนหางกระทบก้นกรง ซึ่งอาจทำให้ขนหางงอหรือหักได้ โดยรวมแล้ว นกแก้วมาคอว์ต้องการกรงที่ใหญ่กว่ามากและยืนเล่นได้ดีกว่านกแก้วสายพันธุ์อื่นๆ ดังนั้น เจ้าของที่มีศักยภาพควรคำนึงถึงพื้นที่ด้วย

การดูแลนกแก้วที่เหมาะสม

1. การฝึกนกแก้วก็เป็นเรื่องที่สำคัญไม่น้อยไปกว่าเรื่องอื่น

          แม้การฝึกนกแก้วจะเป็นเรื่องยาก แต่อย่างไรก็ตามเรื่องนี้ก็ยังเป็นเรื่องที่สำคัญที่เจ้าของควรทำด้วยเช่นกัน โดยการหาเวลาว่างมาสอนพฤติกรรมที่สำคัญให้กับนกแก้ว พร้อม ๆ กับการเรียนรู้ภาษากายของนกแก้วไปด้วยในตัว ด้วยการให้รางวัลเมื่อนกแก้วแสดงพฤติกรรมที่พึงประสงค์ออกมา เพื่อให้การสื่อสารระหว่างคุณกับนกแก้วดีขึ้น และสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข

2. นกแก้วก็ต้องการอาหารที่หลากหลาย

          มือใหม่หัดเลี้ยงนกแก้วหลายคนอาจจะเข้าใจว่า อาหารสำเร็จรูปมีสารอาหารที่นกแก้วต้องการเพียงพออยู่แล้ว ทั้งที่ความจริงแล้วนกแก้วต้องการสารอาหาร และอาหารที่มีความหลากหลายมากกว่านั้น เพราะตามธรรมชาตินกแก้วไม่ได้กินแค่ผักผลไม้สด หรือเมล็ดพืชเพียงอย่างเดียว แต่บางครั้งก็ยังกินใบไม้ ตัวอ่อนของแมลง รวมไปถึงดิน โคลน ด้วยเช่นกัน

3. การป้อนอาหารนกแก้วน้อย       

ตามธรรมชาติแล้ว แม่นกจะเข้ารังเพื่อขย้อนอาหารป้อนลูกนกทีละน้อย ๆ ตลอดวัน แต่เมื่อเรานำมาป้อนเองจะต้องปรับพฤติกรรมการกินอาหารของนกออกเป็นมื้อ เพื่อความสะดวกในการจัดการของเจ้าของ ส่วนมากจะแบ่งเป็น 4 มื้ออาหารต่อวัน ห่างกันราวมื้อละ 4-5 ชม. เช่น 8.00 น. / 12.00 น. / 17.00 น. และมื้อสุดท้ายช่วงดึกราว 21.00 น. ทั้งนี้ ผู้เลี้ยงก็สามารถปรับเปลี่ยนช่วงเวลาได้ตามความเหมาะสม ข้อควรระวังเป็นอย่างมากในช่วงป้อมอาหารคือ ต้องไม่ให้เค้าสำลักเพราะมีโอกาสง่ายมากและจะส่งผลต่อชีวิตพวกเค้าถึงขั้นเสียชีวิตได้เลยหล่ะครับ

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับข้อมูลเกี่ยวกับ “การดูแลนกแก้วที่ทุกๆ ท่านควรให้ความสำคัญ” ที่เราได้รวบรวมมาให้ท่านผู้อ่านที่ทุกสนใจในวันนี้ คิดว่าน่าจะชอบกันนะครับ

Views:
107
Article Categories:
Lifestyle

Comments are closed.